รูปแบบ “โคก หนอง นา” โมเดล ” จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของ การแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ
ที่สถาบันเศรษฐกิจ พอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
ได้น้อมนำพระ ราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตาม แนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำ
และพื้นที่ การเกษตร โดยมีการผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน ให้สอดคล้องกัน
โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้ 30% สำหรับแหล่งน้ำ
โดยการขุดบ่อ ทำหนองและคลองไส้ไก่ 30% สำหรับทำนา ปลูกข้าว 30%
สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย
ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ มีกิน มีอยู่ มีใช้ มีความสมบูรณ์
และความร่มเย็น และ 10% สำหรับที่อยู่อาศัย และ เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา วัว และควาย เป็นต้น
การกักเก็บน้ำของ “โคก หนอง นา” โมเดล หลักการสำคัญของโคก หนอง นา โมเดล
คือการเก็บกักน้ำไว้ใช้อย่างเพียง พอ ซึ่งการออกแบบพื้นที่จะให้ความสำคัญต่อการเก็บน้ำ 3 ส่วนหลักๆ
1. เก็บน้ำไว้ในหนอง: การขุดหนองจะต้องขุดให้คดโค้ง และมีระดับตื้นลึก
แตกต่างกันไปในแต่ละจุด ซึ่งก่อนขุดต้องมีการคำนวณปริมาตรนํ้าที่สามารถ เก็บได้ในหนองเพื่อ
ให้พอใช้งาน
2. เก็บน้ำไว้บนโคก: ทำได้โดยการปลูกป่าและเก็บในระบบรากของต้นไม้ ที่ปลูกไว้ 5 ระดับ ได้แก่ ไม้ระดับสูง ไม้ชั้นกลาง ไม้ชั้นเตี้ย ไม้เรี่ยดิน และ ไม้หัวใต้ดิน ไม้แต่ละระดับควรจะมีอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 21 ชนิด เพื่อสร้าง ความหลากหลายของระบบราก เมื่อฝนตกลงมาระบบรากจะช่วยอุ้มน้ำไว้ในดิน
3. เก็บไว้ในนา: ยกคันนาให้สูงและกว้าง สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วง ฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้เรายังสามารถปลูกพืชผักไว้บนคันนาได้อีกด้วย